Birla Cellulose: คงความเป็นโซ่อุปทานที่เหนียวแน่น

27 มีนาคม, 2562

Birla Cellulose ทำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่มี อีกยังจัดตั้งโครงการแผนภาพเชื่อมโยงอุปทานเป็นครั้งแรกในอินเดียเพื่อตามรอยแหล่งทรัพยากรที่นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์

ด้วยเป็นองค์ประกอบหลักของกระบวนการเพื่อความยั่งยืน Birla Cellulose จึงจัดการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment (LCA)) ให้กับผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่มีให้บริการ นอกจากนี้ Birla Cellulose ยังจัดวางระบบสิทธิให้กับฝ่ายต่าง ๆ ที่ผ่านการรับรอง เช่น SGS, Control Union และ simaPro

การดำเนินการ LCA มีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสุขอนามัยของมนุษย์และสัตว์ (การปรับสภาพเป็นกรด) และสิ่งแวดล้อม (เช่น การลดน้อยลงของชั้นโอโซน การใช้แร่ธาตุที่มากเกิน การใช้ไนโตรเจนและฟอสเฟตที่มากเกินไป) และได้รับการพิสูจน์ยืนยันแล้วโดย Green Delta

ด้วยเป็นสมาชิกของ Sustainable Apparel Coalition (SAC) ซึ่งเป็นสหภาพที่รวมบริษัทถึงกว่า 200 แบรนด์ Birla Cellulose ได้ใช้ Higg Index Tool เพื่อเฝ้าติดตามผลงานของหน่วยการผลิตในด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยดรรชนีนี้จะคอยติดตามถึงการบริโภคพลังงานและน้ำ การลดการปล่อยน้ำเสีย และระยะทางในการขนส่ง

สำหรับส่วนการผลิตทั้งหมด 11 แห่ง มีการวัดคะแนน the Higg Scores ตลอดจนวิเคราะห์เกณฑ์มาตรฐานเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยคะแนน Higg และค่า LCA ที่ได้ ได้รับการทบทวนทุกปีเนื่องจากการดำเนินการในโรงงานมีการปรับปรุงที่ดีขึ้น

วิสคอสดีกว่าคอตตอน

ผลลัพธ์ได้รับการสาธิตให้เห็นอย่างชัดเจนถึงประโยชน์ของวิสคอสที่เหนือกว่าคอตตอน เมื่อพิจารณาจากการใช้ที่ดิน น้ำ และทรัพยากรอื่น ๆ และเหนือกว่าโพลีเอสเตอร์ในแง่ของการย่อยสลายทางชีวภาพ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ Birla Cellulose ต่อวิธีปฏิบัติเพื่อความยั่งยืน จึงมีการจัดทำรายงาน LCA และดัชนี Higg ให้กับลูกค้า: ซึ่งทำให้ Birla Cellulose กลายเป็นซัพพลายเออร์ที่เป็นที่ชื่นชอบของแบรนด์ชั้นนำระดับโลกต่าง ๆ

แบรนด์ค้าปลีกของ Aditya Birla Group — Allen Solly, Peter England, Louis Philippe และ Van Heusen —ยังร่วมงานกับห่วงโซ่อุปทานของตนเองทั้งหมดและจัดส่งผลิตภัณฑ์ให้โดยมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ลดลง พันธสัญญาต่อสหภาพผู้มีส่วนร่วมอันแข็งแกร่งนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าผลกระทบภายนอกที่อาจเป็นข้อพิสูจน์ในอนาคตถึงห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดโดยรวมจะได้รับการนำมาพิจารณา วิธีการนี้ยังทำให้มั่นใจได้ถึงการสาธิตที่ ‘โปร่งใส มองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม และสืบทวนแหล่งที่มาได้’ โดยเป็นโปรแกรมที่รวมถึงการตามรอยแหล่งที่มาของสิทธิในเนื้อผ้าจากป่าไม้

แผนภูมิทรัพยากร

Birla Cellulose ทำงานร่วมกับแบรนด์ระดับโลก อาทิ H&M, Inditex, M&S, C&A, Tesco และ Ikea เพื่อขับเคลื่อนความริเริ่มในการตามรอยแหล่งที่มาของวัตถุดิบและช่วยเหลือให้แบรนด์ต่าง ๆ เหล่านั้นสืบรอยห่วงโซ่อุปทานที่ซับซ้อนในอินเดียได้

โครงการ ‘From Forest to Fashion’ หรือโครงการ ‘จากผืนป่าสู่แฟชั่น’ เป็นโครงการจัดทำแผนภูมิเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานแห่งแรกสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย โดยมีการแสดงความชัดเจนของห่วงโซ่คุณค่าที่มีแหล่งที่มาจากอินเดียและแสดงความโปร่งใสขึ้นของผู้มีบทบาทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่ในห่วงโซ่อุปทานของแบรนด์หลัก ๆ บางแบรนด์ ขั้นตอนถัดไปจะเป็นการทำให้กระบวนการทั้งหมดอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ขณะนี้ Birla Cellulose มุ่งเน้นไปยังโครงการภายในห่วงโซ่อุปทานเพื่อลดปริมาณการใช้ทรัพยากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำและสารเคมี ในขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการ ‘Forest to Fashion’

การตรวจสอบโดยบุคคลที่สาม

Birla Cellulose ทำงานร่วมกับ Canopy เพื่อวางเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพการทำงานร่วมกับผู้ผลิตผ้าเส้นใยเรยอนรายใหญ่ที่สุดในโลก รายงานของ Canopy ใช้วิธีการจัดอันดับตามสไตล์ Greenpeace Catwalk เพื่อประเมินผู้ผลิตในด้านความเสี่ยงในการจัดสรรทรัพยากรจากผืนป่าโบราณและผืนป่าที่ถูกคุกคาม และให้คำแนะนำในการปรับปรุงตามต้องการ Canopy มีบันทึกว่า Aditya Birla Group ครองส่วนในตลาดโลกร้อยละ 17 สำหรับเส้นใยเรยอน และมีการเข้าดูงาน ณ สถานที่เพื่อพิสูจน์ผลของการสืบค้นแล้วส่วนหนึ่ง

ผลของการตรวจสอบได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะ จึงทำให้เป็นโครงการที่โปร่งใส โดยการศึกษานี้ประกอบด้วยแบรนด์เครื่องแต่งกาย 65 แบรนด์ที่เข้าร่วมแคมเปญของ Canopy ซึ่งรวมถึง H&M, Tesco, Esprit, KappAhl และ New Look ซึ่งมีเป้าหมายร่วมกันในการทำให้มั่นใจได้ว่าห่วงโซ่อุปทานของเรยอน/วิสคอส มีการหลีกเลี่ยงผืนป่าที่ถูกคุกคาม ด้วยการทำงานร่วมกับแบรนด์ระดับโลกในการขับเคลื่อนความโปร่งใส ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มพูนประสิทธิผล Birla Cellulose จึงดำเนินงานเพื่อให้เป็นซัพพลายเออร์ทางเลือกที่ดีที่สุดของแบรนด์เหล่านี้