การบูรณการเศรษฐกิจอินเดียเข้ากับเศรษฐกิจโลก

Mr. Aditya Vikram Birla Aditya Vikram Birla ได้รับเกียรติให้เป็นผู้บริหารแห่งปีด้วยรางวัล ‘Management Man of the Year Award’ ในปี 1992 จากสมาคม Bombay Management Association ซึ่งเป็นสมาคมด้านการบริหารที่สำคัญของอินเดีย ในการปราศัยที่สะกิดใจที่แสดงถึงการมองการณ์ไกล ท่านกล่าวถึงความท้าทายที่องค์กรในอินเดียและภาครัฐจำเป็นต้องเผชิญ จนกระทั่งวันนี้ คำพูดของท่านยังพิสูจน์ถึงความเป็นจริง

ตัดตอนจากคำพูดของท่าน:

 

หมู่บ้านแห่งโลก

เหตุการณ์เหลือเชื่อและที่ไม่เคยมีมาก่อนได้เกิดขึ้นแล้วในประวัติศาสตร์เมื่อไม่นานมานี้ อาจเป็นไปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจในศักราชใหม่ได้เกิดขึ้นในเวลาสามปีที่ผ่านมา มากกว่าในสามส่วนสี่ของศตวรรษที่ผ่านมาเสียอีก

กำแพงเบอร์ลินทลายลง ที่รัสเซีย อาคารขนาดใหญ่ของคอมมิวนิสต์แบ่งออก และเครื่องประดับยศสำหรับสังคมนิยมถูกถอดทิ้งและละทิ้ง พลังที่ครั้งหนึ่งไม่อาจทำลายได้ขณะนี้ได้เผชิญกับหน้าที่ในการส่งผ่านไปยังระบบเศรษฐกิจแบบตลาด และที่น่าประหลาดใจที่สุดก็คือ การช่วยเหลือในกระบวนการนี้เป็นกลุ่มของนักเศรษฐศาสตร์จากป้อมปราการของระบบทุนนิยม มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ประเทศในแถบยุโรปตะวันออกปลดโซ่ตรวนการเป็นคอมมิวนิสต์ของตนเองออกและแข่งขันกันดึงดูดนายทุนจากเอกชน และทำการปฏิรูปครั้งใหญ่ และรุกเข้าสู่การสร้างเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยตลาด เชื้อเศรษฐกิจนี้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปที่ประเทศจีนที่ ๆ ธุรกิจเบ่งบานเพราะประเทศพลิกกลับจากทางตันของการวางแผนแบบศูนย์กลาง

ซึ่งจึงเป็นแผนการระดับโลก: ประเทศทั้งหลายต่างแข่งขันกันและประกวดประขันกันวางนโยบายเพื่อที่จะดึงดูดผู้ประกอบการ ความริเริ่ม และแหล่งทุนจากภาคเอกชน รัฐบาลต่าง ๆ และผู้คนทุกแห่งรู้ดีว่านี่เป็นทางเดียวที่จะพาไปสู่ความรุ่งเรืองได้

อินเดียไม่อาจแยกตัวออกจากเศรษฐกิจโลก จึงต้องไขว่คว้าและก้าวไปตามขั้นตอน เป็นเพราะต้องทำ จึงต้องบรรเทากฎระเบียบลง ดึงเงินทุนจากต่างชาติ สนับสนุนการริเริ่มให้กับเอกชน โน้มน้าวบริษัทข้ามชาติและส่งเสริมให้บริษัทอินเดียกลายเป็นบริษัทนานาชาติ เราต้องสร้างภาวะแวดล้อมที่ ๆ ผู้ประกอบการและองค์กรของอินเดียพัฒนาเข้าสู่การเป็นพลเมืองของโลก ดังนั้น ทางเลือกที่ต้องมาก่อนของเราจำเป็นต้องกล่าวย้ำอย่างแข็งกร้าว ไม่ใช่ว่าจะต้องผ่อนผันกฎระเบียบหรือไม่ และไม่ใช่ว่าจะต้องผสมผสานเข้ากับเศรษฐกิจโลกหรือไม่ แต่เป็นว่า เราต้องการจะอยู่รอดหรือย่อยยับ เราเผชิญเข้ากับทางเลือกที่มีอยู่เพียงทางเดียว

ทุกวันนี้ ประเทศต่าง ๆ ในโลกกลายเป็นต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ทำให้เขตแดนทางการปกครองและประวัติศาสตร์เป็นเรื่องไม่เกี่ยวเนื่องกันในทางเศรษฐกิจยิ่งขึ้น ด้วยการเชื่อมโลก สินค้าจะถูกผลิตในทำเลที่เอื้อประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่แตกต่างไป เราในกลุ่มของเราได้เปิดออกไปสู่การเป็นระดับโลกที่ใหญ่กว่าแล้ว

เรามีการดำเนินการผลิตอยู่ใน 8 ประเทศและมีสำนักงานพาณิชย์ในอีกหลายประเทศ เรามีบริษัทร่วมทุนประมาณ 20 แห่งที่ดำเนินงานนอกอาณาเขตอินเดีย ธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเติบโตไปในสภาวะที่เป็นอิสระและมีความสามารถในการแข่งขัน ในความเป็นจริงแล้ว รัฐมนตรีคลังผู้มีความกระตือรือร้นและโดดเด่นของเรา ดร. Manmohan Singh ได้กล่าวย้ำไว้ว่าอินเดียจำเป็นต้องผสมผสานเข้ากับเศรษฐกิจโลก ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่น่ายกย่องอย่างยิ่ง แล้วเรารู้จริงแล้วหรือว่าเราจะเข้าไปทำได้อย่างไร

เราจะบรรลุวัตถุประสงค์ที่ท้าทายนี้ได้อย่างไร เรารู้จักหลุมพรางและโอกาสสำหรับอุตสาหกรรมหรือไม่

มันเป็นหนทางที่ยากลำบากที่ต้องฟันฝ่าไปอย่างต่อเนื่องในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือ มันต้องเป็นความตั้งใจของประเทศชาติ เป็นไปในเชิงบวกมาตั้งแต่แรกเริ่ม เราไม่อาจทนติดอยู่ที่กลางลำน้ำแล้วรอความเมตตาจากกระแสน้ำได้ เราต้องเดินทางไปต่อและไปให้ถึงอีกฝั่งหนึ่งให้ได้ ถ้าเราตกเรือครั้งนี้ โอกาสที่พลาดไปนี้จะต้องรออีกนานกว่าจะมีมาหาเราอีกครั้ง

งานก่อนรัฐบาล

สิ่งสำคัญที่สุดประการแรก เราในฐานะนักธุรกิจต้องพัฒนาชุดของความคิดที่ส่งผลต่อไปถึงระดับพฤติกรรม (Mindset) ที่เป็นระดับสากล โลกภายนอกนั้น ธุรกิจกลายเป็นการมองไปยังผู้อื่นและที่อื่นและใช้การมุ่งเน้นตลาด แต่โชคไม่ดีนักที่ในอินเดีย มีการปลูกจิตใต้สำนึกให้มองดูที่ตนเอง สำหรับเราแล้ว เป็นเวลานานแล้วที่โลกคืออินเดีย และอินเดียก็คือโลกของเรา เราต้องออกไปจากกระดองให้ได้ มันยากที่จะเปลี่ยนความสามารถทางจิตใจและวิสัยทัศน์ของนักธุรกิจผู้ซึ่งทำงานมายาวนานในตลาดที่ถูกปกป้องที่ ถูกสะกักกั้นด้วยการควบคุม แต่มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเริ่มมองออกไปนอกหน้าต่างและออกไปที่โลกภายนอก ด้วยยึดมั่นในมุมมองที่กว้างขึ้นนี้ เราต้องผลักดันให้เกิดศักยภาพในการผลิตที่ไม่กระจัดกระจายและต้องไม่ตั้งอยู่ผิดที่อันเนื่องมาจากการพิจารณาด้านการเมือง โรงงานต้องตั้งขึ้นอย่างสมเหตุสมผลและมีขนาดระดับโลกเพื่อให้รองรับตลาดระดับระหว่างประเทศได้ โรงงานแบบนี้เพียงอย่างเดียวก็สามารถลดค่าใช้จ่ายและสร้างส่วนเกินเพื่อการส่งออกที่แข่งขันได้

งานหลังองค์กร

ส่วนขององค์กรจำเป็นต้องมีความริเริ่มตามที่กล่าวไว้ เราไม่สามารถประสบผลสำเร็จได้ถ้าไม่มีภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ รัฐบาลได้ทำไปหลายอย่างแล้ว ลดระเบียบข้อบังคับ MRTP การแยกย่อยการอนุญาตด้านอุตสาหกรรมสำหรับอุตสาหกรรมเฉพาะต่าง ๆ การเปิดอุตสาหกรรมให้กับภาคเอกชนเพิ่มขึ้น การลดภาษีบางอย่างและการนำเสนอการแปลงสกุลเงินบางส่วน เหล่านี้เป็นขั้นตอนบางอย่างที่รัฐบาลทำ แต่ก็ยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องทำ

มาตรการทางกฎหมาย

เราจำเป็นต้องมีกฎหมายทำร้ายตัวเองที่ทำให้ความก้าวหน้าหยุดชะงักและเป็นอุปสรรคด้วยหรือ เพราะความซับซ้อนของกฎหมายของเรา ผมเลยเปรียบเทียบกับสิ่งที่ Winston Churchill พูดเกี่ยวกับสหภาพโซเวียต: "มันเป็นความเร้นลับที่ถูกหุ้มห่อไว้ด้วยปริศนา ที่ติดกับดักอยู่ภายในสิ่งลึกลับ"

กฎหมายต้องถูกตัดแต่งและอะไรที่ไม่ส่งเสริมการเติบโตแต่เป็นการหน่วงเหนี่ยวก็ต้องตัดทิ้งไปและย่อยเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย รัฐบาลได้ดำเนินขั้นตอนแรก ๆ ที่มีความเป็นไปได้เล็กน้อยแล้ว แต่เราต้องเอาจริงให้มากขึ้น แน่วแน่และเด็ดเดี่ยวด้วยความเร็วที่มากขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของเรา ตามที่ผมบอก การหยุดกลางทางก็หมายถึงตายลูกเดียว เขตนิติบัญญัติแห่งที่สามเกี่ยวข้องกับปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังการตั้งงบประมาณ

ผมมีประสบการณ์โดยตรงใน 8 ประเทศ และยังมีประสบการณ์จริงกับธุรกิจในประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ ไม่มีประเทศไหนมีกระบวนการที่ซับซ้อน และแถมด้วยการเปลี่ยนแปลงทิศทางอย่างฉับพลันทันใดปีแล้วปีเล่าเหมือนในอินเดีย ที่จริงแล้ว ความแน่นอนอย่างเดียวเกี่ยวกับงบประมาณก็คือความไม่แน่นอนที่มันสร้างขึ้น

ในวันนี้ ด้วยศรัทธาต่อนโยบายการคลังและการให้สัญญาอย่างเป็นนัย ๆ ของรัฐบาล คุณก็ไปต่อและสร้างโครงการให้เกิดขึ้น และพอมาถึงครึ่งทาง ก็พบว่าภาษีศุลกากรหรือภาษีบางอย่างเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ระดับค่าใช้จ่ายโครงการสูงขึ้นอีกหลายสิบล้านรูปี แล้วคุณจะคุมค่าใช้จ่ายอย่างไร ด้วยความไม่แน่นอนนี้ เราจะคาดการณ์ถึงการเติบโตและความรุ่งเรืองของธุรกิจอย่างไร อย่างน้อยที่สุดก็คือรวมตัวเข้าไปกับเศรษฐกิจโลก

ระบอบโดยรวมทั้งหมดดูเหมือนจะถูกแบ่งลักษณะตามมุมมองของบุคคลและความไม่แน่นอน แท้จริงแล้ว ใน 8 ประเทศที่เราเข้าไปทำธุรกิจนี้ อินเดียเป็นที่ ๆ มีความเสี่ยงที่สุด ไม่ใช่เพราะการคุกคามทางกายภาพกับโครงการของคุณ แต่เป็นเพราะการคุกคามทางภาษีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และสิ่งนี้ก็เกิดขึ้นได้ซึ่งไม่ใช่เพราะจากการแข่งขัน แต่อาจเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงทางการคลังที่ถูกกระตุ้นจากการจัดสรรงบประมาณ

สำหรับประเทศส่วนใหญ่แล้ว งบประมาณก็คือสิ่งที่มันควรจะเป็น คือการแสดงให้เห็นถึงรายได้และค่าใช้จ่ายของประเทศ ไม่มีอะไรมากน้อยไปกว่านั้น ไม่ควรจะมีโอกาสไหนที่จะต้องเล่นกับโชคชะตาของใครคนใดหรือบริษัทใดโดยบังคับให้พวกเขาเปลี่ยนหรือหยุดเปลี่ยน ผมขอแนะนำว่ากระบวนการในการจัดตั้งงบประมาณต้องโปร่งใสทั้งหมด ให้มองเห็นภาพรวมทั้งหมดของประเทศและอาศัยความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจากทุกภาคส่วนของงานสาธารณะ เนื่องจากมันเป็นกระเป๋าเงินของพวกเขาที่ถูกอ้างสิทธิ์

การเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการ

การบรรลุความสำเร็จจากการใช้มาตรการด้านการจัดการเป็นส่วนที่สำคัญยิ่งกว่าสำหรับภาครัฐ ประการแรก ค่าใช้จ่ายด้านการผลิตของเราสูงกว่าประเทศส่วนใหญ่ ซึ่งนี่ไม่ใช่เพราะธุรกิจของเรามีไม่เพียงพอ แท้จริงแล้ว ตราบใดที่การบริโภควัตถุดิบและสาธารณูปโภคเป็นสิ่งจำเป็นอยู่ ซึ่งต้องใช้เป็นตันต่อตัน เราก็แข่งขันได้ในหลาย ๆ อุตสาหกรรมเหมือนคนอื่น ๆ ในโลก แต่กระนั้นอัตราค่าใช้จ่ายวัตถุดิบอย่างถ่านหินพิเศษ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ไฟฟ้า การเดินทางและการสื่อสารต่าง ๆ ที่จัดสรรมาจากทางรัฐบาลนั้นอยู่ล้ำเส้นเกินกว่าที่เป็นในประเทศอื่น ๆ เช่นเดียวกันนี้ยังมีผลต่อค่าใช้จ่ายด้านการเงิน ดอกเบี้ยของเราสูงกว่าประเทศส่วนใหญ่มาก

พิจารณาปัจจัยสำคัญอีกอย่าง – ไฟฟ้า เรามีการตัดไฟและไฟดับถึงจะชำระเงินแล้วก็ตาม ซึ่งเฉลี่ยแล้วอยู่ที่กว่า 26% ต่อหน่วยมากกว่าประเทศต่าง ๆ ในเอเซีย แท้จริงแล้ว การใช้กำลังการผลิตโรงไฟฟ้าทั้งหมดของอินเดียเป็นเรื่องน่าหดหู่มาก

ที่โรงงาน Renusagar ของเรา อัตราการใช้สอยอยู่ที่ 95% แต่ในทางกลับกัน อัตราเฉลี่ยทั่วอินเดียอยู่ที่ประมาณ 55% นี่เป็นเพราะไม่มีการบริหารจัดการ ไม่มีการปกครองตนเองและไม่มีการอธิบายได้ แล้วเราจะรวมตัวเข้ากับส่วนที่เหลือของโลกได้อย่างไรถ้าปัจจัยพื้นฐานของเราคุณภาพแย่แบบนั้นแล้วก็มีราคาสูง คำตอบอยู่ที่การให้ความรู้แก่สาธารณชนถึงสถานการณ์ที่น่าเศร้าของภาครัฐให้มากขึ้น อีกเรายังต้องปรับปรุงคุณภาพและลดค่าใช้จ่ายจากปัจจัยหลักต่าง ๆ ที่จัดสรรมาจากภาครัฐโดยให้มีการปกครองตนเองโดยองค์กรสาธารณะและทำให้มีการอธิบายได้

บทสรุป

เราในฐานะประเทศ ต้องตระหนักว่าการผ่อนคลายกฎระเบียนและเศรษฐกิจแบบการค้าเสรีไม่ใช่สิ่งฟุ่มเฟือย ไม่ใช่การแบ่งปันที่จัดสรรโดยรัฐบาลให้กับภาคเอกชน ไม่ใช่การช่วยเหลือที่มอบให้โดยรัฐบาล แต่เป็นการบังคับ หากเราไม่ผ่อนผันกฎเกณฑ์ ไม่ลดความล่าช้าจากพิธีการต่าง ๆ ไม่คลายปมด้ายที่พันกัน ถ้าเราไม่นำความมีประสิทธิภาพมาให้กับสาธารณชน แล้วความรุ่งเรืองจะเข้ามาในประเทศนี้ได้อย่างไร

ดังนั้น ขอให้พวกเราคำนึงว่าการผ่อนผันกฎระเบียบ การกระจายอำนาจปกครอง และการเปิดเสรีเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำเพื่อให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้ในโลกที่มีการแข่งขันสูง ในระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่ต้องดึงดูดเงินทุนและการลงทุน งานเพื่อการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกเป็นงานใหญ่และมีความสำคัญอย่างมหาศาล เพียงแค่สโลแกนและการปราศัยไม่สามารถช่วยอะไรได้

ความตั้งใจของทั้งประเทศจะถูกทดสอบในภารกิจนี้ มันไม่ใช่งานของบุคคลใดหรือหน่วยงานเอกชนใดหรือภาครัฐ มันเป็นงานที่ทั้งอุตสาหกรรม ภาครัฐ แรงงาน ฝ่ายค้าน และฝ่ายราชการต้องเข้ามามีส่วนร่วมและทำงานเป็นทีมเดียวกัน ผมหวังว่า พระเจ้าจะมอบปัญญาให้แก่เราเพื่อให้ทำงานประสานกันได้อย่างคล้องจองและมีวินัย แล้วเรา เราจะสามารถทำฝันในการรวมเศรษฐกิจอินเดียเข้ากับกระแสของเศรษฐกิจโลกให้เป็นจริงได้หรือไม่

ขอให้เราให้คำมั่นอย่างจริงจังในการทำความตั้งใจของชาติเพื่อการรวมเข้ากับเศรษฐกิจโลก