ปีอธิกสุรทินเบื้องหน้า

Mr. Aditya Vikram Birla คุณ Aditya Birla เป็นผู้ให้การสนับสนุนที่กระตือรือร้นสำหรับการบริหารแบบมืออาชีพ ซึ่งท่านเปรียบเทียบว่าเป็น ‘การบริหารจัดการที่ดี’ สำหรับท่าน มันคือตัวขับเคลื่อนสำคัญของ ‘ความก้าวหน้า ความรุ่งโรจน์ และความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ’ ในงานที่จัดโดย Madras Management Association เพื่อเป็นเกียรติต่อคุณ Birla งานมอบรางวัลผู้นำทางธุรกิจ ‘The Business Leadership Award for 1990’ ท่านกล่าวถึงวิสัยทัศน์ด้วยการเรียงร้อยถ้อยแถลงถึงประสบการณ์ของท่านในการบริหารจัดการในอินเดีย และสภาวะการณ์ทางธุรกิจในปัจจุบัน สุนทรพจน์นี้จะเป็นที่จดจำไปอีกยาวนาน ด้วยความปราดเปรื่องด้านการบริหารจัดการของคุณ Aditya Birla ที่คาดการณ์ได้ถึงลางบอกเหตุในอนาคต

ในการบริหารจัดการองค์กรนั้น มันมีช่วงระยะของกิจกรรมที่ต้องได้รับการดูแล และผมอยากจะกล่าวสั้น ๆ ถึงรูปแบบเหล่านี้ที่เป็นสิ่งสำคัญ ในการเริ่มต้น ผมคิดว่าบทเรียนที่สำคัญที่สุดในการบริหารจัดการที่ผมได้เรียนรู้มาจากปู่ของผมก็คือ การลงทุนหลัก ๆ ควรมาจากการเลือก การฝึกอบรม และการสร้างคน ท่านสอนให้ผมรู้จักไว้วางใจและเชื่อมั่นในตัวบุคคล คนของคุณจะซื่อสัตย์กับคุณเสมอถ้าคุณเป็นพวกเขา

ท่านสอนผมว่าคนธรรมดาทั่วไปสามารถสร้างผลงานที่ไม่ธรรมดาได้หากได้รับโอกาส คุณต้องฝึกคนโดยการมอบอำนาจให้กับพวกเขา เมื่อคุณให้อำนาจเขา คนเหล่านี้ก็จะทำผิดพลาด แต่เป็นความผิดพลาดจากการทำผิดนี่แหละที่คุณสร้างคน คุณต้องมีความอดกลั้น ความทรหด ความอดทน และต้องมีใจใหญ่ที่สามารถยอมรับถึงความสูญเสียจากการฝึกผู้คน ต้องมอบโอกาสให้ผู้คนเพื่อให้ดำเนินการ อย่าลังเลที่จะมอบอำนาจ เมื่อผมกลับมาจากสหรัฐฯ พ่อของผมมอบโรงงานอุตสาหกรรมให้ผม ให้ทำด้วยตัวเองทั้งหมดโดยไม่มีการช่วยเหลือจากกลุ่ม ท่านมีวิสัยทัศน์และความกล้าพอที่จะมอบความรับผิดชอบ ผมทำผิดพลาดมาแล้วมากมายนับไม่ถ้วน แต่การฝึกหัดนั้นคุ้มค่ากับการผิดพลาดที่ผมทำ

ภาวะผู้นำ

ภาวะผู้นำที่ดีเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จ วันคืนล่วงไป เมื่อหัวหน้าขึ้นเป็นผู้นำโดยอัตโนมัติและหัวหน้าคณะก็เข้าปกครอง ในขณะที่การรับมือกับหัวหน้าก็คือ: กฎข้อที่ 1 – หัวหน้าถูกต้องเสมอ และกฎข้อที่ 2 – ถ้าหัวหน้าผิด ให้ดูกฎข้อที่ 1!

ผมพบเวลาที่ไม่มีตัวเลขเมื่อภาวะผู้นำที่ดีได้สร้างความแตกต่างทั้งหมด หน่วยงานที่สร้างความสูญเสียกลับกลายเป็นผู้สร้างกำไรมากมายเพียงแค่เปลี่ยนภาวะผู้นำเท่านั้น

ผมลองวิเคราะห์ว่าอะไรเป็นสิ่งภายในที่สร้างผู้นำที่ดี ทำไมคนบางคนถึงเป็นผู้นำที่ดีได้ และอีกครั้ง มีคุณสมบัติและหนทางมากมายที่จะนำมาซึ่งความเป็นเลิศของภาวะผู้นำ บางคนได้ภาวะผู้นำมาจากการบริหารจัดการด้านการเงิน บ้างมาจากการจัดการด้านแรงงานที่ดี และมนุษยสัมพันธ์ อีกครั้ง บ้างก็ได้ภาวะผู้นำมาจากการตลาด — Lee Iaccoca เป็นตัวอย่างที่ดี บ้างมาจากเส้นทางการควบคุมทางการจัดการและบ้างก็มาจากการควบคุมคุณภาพและบ้างก็มาจากการควบคุมคุณภาพและจัดการด้านเทคนิคในการผลิต เหมือนกับประธานของ Honda

ดังนั้น มันจึงมีหลายทางที่ผู้คนจะมีภาวะผู้นำได้ แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันจากเส้นทางเหล่านี้ ซึ่งก็คือ การทำงานหนักและความมุ่งมั่น ไม่มีอะไรมาแทนที่การทำงานหนักและความมุ่งมั่นได้ เมื่อพูดถึงความมุ่งมั่น ผมนึกถึงเรื่องราวของเจ้าของร้านผู้ที่ระหว่างนอนรอความตายได้ถามหาภรรยาและลูกชายทั้งสามว่าอยู่ที่ไหน เมื่อได้รับคำยืนยันว่าทั้งสี่คนอยู่ข้างเตียงของเขา เขาก็ตะโกนว่า ‘แล้วใครดูแลร้านล่ะ’ นี่คือคำยึดมั่นสำหรับคุณ!

ภาวะผู้นำที่ดีสามารถสร้างความแตกต่างระหว่างความสำเร็จและความล้มเหลวได้อย่างสิ้นเชิง กับพวกคุณ ผมขอปันความคิดอย่างหนึ่ง บางคราวในการฝันฝ่าอุปสรรค เมื่อพยายามทุกอย่างแล้วและคุณไม่พบผลลัพธ์ คน ๆ หนึ่งใจสลาย และในเวลาเช่นนั้น มีบทกลอนที่มีชื่อเสียงที่ประพันธ์โดย Bhagvad Gita: ‘ธุรกิจของท่านอยู่กับการปฏิบัติเท่านั้น ไม่เคยอยู่กับผลของมัน’ ซึ่งทำให้ผมผ่อนคลายไปได้มากทีเดียว และอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเวลาเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ความหดหู่มักครอบงำ ผมก็นึกถึงโดฮา (ร้อยกรอง) จากเรื่องรามเกียรติ์ ‘จะได้หรือจะเสีย จะเป็นหรือจะตาย จะเชื่อได้หรือไม่ได้ ทั้งหมดล้วนอยู่ในมือของพระเจ้า’ โดฮานี้ทำให้ผมสงบและเข้มแข็งได้แม้อยู่ในความตึงเครียดก็ตาม ผมหวังว่าพวกคุณในฐานะผู้นำจะได้รับความเข้มแข็งจากความคิดนี้เช่นกัน

นวัตกรรม

จากบุรุษและผู้นำ ตอนนี้ผมมาที่เรื่องน่าตื่นเต้น – นวัตกรรม ซึ่งนี่เป็นทั้งความท้าทายและเป็นรางวัล และเป็นสิ่งสำคัญต่อความเป็นเลิศทางการจัดการ ผมได้เรียนรู้ว่าผู้ประกอบการจำเป็นต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา เราต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ เป้าหมาย และวิธีการของเราเสมอเพื่อให้สอดรับกับแผนการที่เปลี่ยนแปลงไปของเราได้อย่างไม่สะดุด ตัวอย่างเช่น สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์เคยเป็นศัพท์ที่ไม่มีใครรู้จักจนเมื่อทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งทุกวันนี้ เราถูกโอบล้อมไว้ด้วยสิ่งนี้ ปัจจัยใหม่ได้ถูกโยนเข้ามา ในทำนองเดียวกัน ด้วยต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ผู้คนจึงต้องเปลี่ยนแปลงใหม่เพื่อความอยู่รอดและเพื่อความเป็นเลิศ

อย่างไรก็ตาม ผมต้องขอย้ำว่า นวัตกรรมนั้นต้องเผชิญกับอุปสรรคจากความเฉื่อยของสถานะเดิมที่เป็นอยู่ ที่ซึ่งฝังรากอยู่ในตัวบุคคลในการสร้างสรรค์นวัตกรรม กระนั้น องค์กรต้องทำลายสถานะเดิมที่มีอยู่นี้ตลอดเวลา การกำหนดมาตรฐานและวิธีการในการดำเนินธุรกิจเป็นสิ่งที่ต้องตั้งคำถามหากเราต้องการที่จะก้าวหน้า นวัตกรรมเป็นการตั้งคำถามและความท้าทายต่อสิ่งที่เป็นอยู่เพื่อบางสิ่งที่ดีกว่า ตื่นเต้นกว่า และมอบรางวัลตอบแทนให้มากกว่า

ผลิตภาพ: คน

ตอนนี้มาพูดถึงการเพิ่มผลผลิต ต้องใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่องในการปรับปรุงการเพิ่มพูนผลผลิตจากคนและเครื่องจักรอยู่ตลอดเวลา เราต้องปรับปรุงระบบที่มีอยู่ของเราไม่ว่าจะเป็นอย่างไร มาตรฐานที่ดีเลิศในวันนี้จะกลายเป็นล้าหลังในวันพรุ่งนี้ อะไรที่ดูเหมือนจะไม่สำเร็จในวันนี้ ก็อาจเป็นสิ่งสำคัญในวันพรุ่งนี้ และในวันถัดไปก็กลายเป็นล้าสมัย องค์กรไม่สามารถคงอยู่นิ่ง ๆ มันไม่สามารถรักษาตำแหน่งไว้ได้ ถ้าไม่ปรับปรุงก็ต้องเสื่อมลง ดังนั้น ถ้าคุณไม่ก้าวไปตามขั้นตอนการแข่งขันอย่างต่อเนื่องด้วยการเพิ่มผลผลิตตลอดเวลาคุณก็จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

โลกเปลี่ยนแปลงเร็ว มันเป็นพลวัตของมัน สภาพแวดล้อมที่โหดร้ายและเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่รู้จักสร้างสรรค์ และผู้ที่แสวงหาผลผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเท่านั้นที่จะอยู่รอดและรุ่งเรือง ส่วนผู้ที่นิ่งเฉยก็จะถูกลืมไป อย่าลืมไปว่ามีทางบรรลุผลมากมายและความพึงพอใจต่องานมากมายหากคุณทำอะไรบางอย่างให้สำเร็จ

หากคุณประสบความสำเร็จจากความพยายามของคุณ โลกขององค์กรนั้นเต็มไปด้วยความฝัน เต็มไปด้วยความเพลิดเพลินและความปิติยินดี แต่ถ้าคุณไม่รักษาระดับความก้าวหน้า อุตสาหกรรมก็อาจเป็นฝันร้ายได้ คุณต้องมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้อยู่รอดและเพื่อความก้าวหน้า ปู่ของผมเคยกล่าวว่า: ‘อุตสาหกรรมคือเมียน้อยที่ขี้หึง! เธอต้องการให้เอาใจอยู่ตลอดเวลา'

ผลิตภาพ: เครื่องจักร

สำหรับการเพิ่มผลผลิตของเครื่องจักร ผมพบว่ามักมีช่องว่างให้ปรับปรุงเสมอ แต่อะไรที่ขาดหายไปก็คือความตั้งใจ วิสัยทัศน์และความตั้งมั่นที่จะหาประโยชน์จากเครื่องจักรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีที่สุดออกมา บ่อยครั้งที่เรามักสร้างกำแพงขวางกั้นทางจิตใจขึ้นมากันเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากต่อการเอาชนะมากที่สุด มากกว่าปัญหาที่แท้จริงในการเพิ่มผลผลิตด้วยซ้ำ

อย่างที่ Eric Hoffer นักปราชญ์ชาวอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่กล่าวไว้ว่า ‘ในเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลง ผู้เรียนรู้คือผู้ที่สืบทอดต่อไปสู่อนาคต ผู้ที่เรียนรู้มักพบว่าตัวเองมีความพร้อมต่อการอาศัยในโลกที่ไม่มีอยู่อีกต่อไป'

เราต้องมีใจที่เปิดกว้าง; เราต้องยอมรับต่อไอเดียใหม่ ๆ ต่อทัศนคติใหม่และต่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ และต้องไม่สร้างกำแพงและข้อจำกัดทางจิตใจ

เคยมีการสอนกันมาว่าการวิ่งระยะหนึ่งไมล์ภายใน 4 นาทีนั้นเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ แต่ก็ทำกันได้มาแล้ว ไม่มีอะไรที่บรรลุผลสำเร็จไม่ได้ ถ้าคุณเปิดใจให้กว้าง มีความตั้งใจ อุทิศตัว มีความแน่วแน่ กระตือรือร้น และวิสัยทัศน์ที่จะบรรลุในสิ่งที่เหมือนเป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้

พูดถึงเรื่องความใจกว้าง Rig Veda กล่าวว่า: ‘ให้ปัญญาขั้นสูงเข้ามาสู่ตัวเราจากจักรวาลโดยรอบทั้งหมด’

คุณภาพ

คุณภาพมีความสำคัญสุดยอดในภาวะแวดล้อมที่มีการแข่งขันของโลกที่กำลังหดตัว ผู้จัดการที่สายตาสั้นที่ไม่รู้ถึงคุณภาพจะพ่ายแพ้ในโลกที่ไร้พรมแดน

ถ้าคุณตระหนักรู้ถึงคุณภาพ นั่นคือคุณตัดค่าใช้จ่ายในการผลิตและการตลาดได้อย่างแท้จริง แนวคิดที่ว่าการรักษาระดับคุณภาพเป็นการเพิ่มใช้จ่ายนั้นผิดอย่างสิ้นเชิง คำถามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติก็คือ แล้วค่าจะใช้จะต่ำลงได้อย่างไรหากคุณไปเน้นถึงคุณภาพ

คำตอบก็คือ:

  • เมื่อการชำรุดสึกหรอของเครื่องจักรลดลง
  • ผลผลิตจากเครื่องจักรก็ปรับปรุงดีขึ้น
  • คุณประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
  • คุณได้ผลผลิตจากแรงงานเพิ่มมากขึ้น
  • คุณสามารถทำกำไรจากผลิตภัณฑ์ของคุณมากขึ้น
  • ไม่มีการเรียกร้องความเสียหายจากลูกค้า
  • มีการขายให้ลูกค้าชั้นดีที่มีเครดิตดี ซึ่งส่งผลให้หนี้เสียลดลง

โดยสรุปแล้ว การประหยัดค่าใช้จ่ายนั้นเกินกว่าจะคำนวณได้จากคุณภาพ ดังนั้น ผมขอสนับสนุนอย่างแข็งขันให้ผู้ประกอบการใด ๆ และทุกรายต้องรักษาคุณภาพโดยให้เป็นเป้าหมายอันดับแรก เราได้ทำมาแล้ว และเราก็ได้รับประโยชน์จากสิ่งนี้มาแล้ว ดร. J.M. Juran กล่าวแสดงมุมมองเดียวกัน ในอีกรูปแบบหนึ่ง เขากล่าวว่า ‘เมื่อคุณภาพทำให้เกิดค่าใช้จ่าย คุณภาพที่แย่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่มากกว่า'

การบริหารจัดการโครงการ

สำหรับผู้ประกอบการใดก็ตาม รากฐานควรแข็งแกร่ง ในเรื่องนี้ เมื่อดำเนินการโครงการ ขอบเขตที่สำคัญยิ่ง 3 ประการต้องได้รับการดูแลใส่ใจอย่างเต็มที่: ประการแรกคือ ต้องนำวิธีการที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในโลกมาใช้; ประการที่สองคือ จัดซื้ออุปกรณ์ที่ดีที่สุด อย่าประนีประนอมกับคุณภาพของอุปกรณ์สำหรับต้นทุนพิเศษส่วนเพิ่ม โดยทั่วไปเครื่องจักรที่ถูกกว่ามักกลายเป็นสิ่งที่แพงที่สุด ประการที่สาม ในขณะที่จัดตั้งโรงงาน โรงงานที่มีขนาดระดับเศรษฐกิจโลกที่เล็กที่สุดควรเกิดขึ้นอยู่ในความคิดเสมอ ใคร ๆ ก็ไม่ควรประนีประนอมกับเกณฑ์พื้นฐาน 3 ประการนี้ ซึ่งนี้เป็นการทำให้มั่นใจได้ถึงรากฐานที่แข็งแกร่ง

ระบบการจัดการที่แนะนำ

ผมอยากจะแบ่งปันคุณเกี่ยวกับระบบการจัดการที่ผมรู้สึกว่าให้ผลดี พวกเราทำตามสไตล์ ที่ผมเรียกว่า ‘การบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยฉันทามติ’ ด้วยระบบนี้ การทบทวนและการตัดสินใจจะทำกันในกลุ่ม กลุ่มคนจะรวมตัวกันเพื่อช่วยกันทบทวนงานของบริษัทเป็นระยะ ๆ พวกเขาจะพิจารณารูปการณ์และปัญหาต่าง ๆ และเตรียมแผนดำเนินการ สำหรับการตัดสินใจ แทนที่จะตัดสินใจโดยคน ๆ เดียว ก็จะใช้การตัดสินใจจากความเห็นของคนส่วนใหญ่ที่มีจากการหารือกันในกลุ่ม

แนวทางปฏิบัติมักมาจากคำแนะนำโดยคนใดคนหนึ่ง คนอื่น ๆ ก็จะมองหาข้อด้อย ทำการตรวจแก้หรือพิจารณาสำรวจหาทางเลือก และในท้ายที่สุดเมื่อถึงเวลาตัดสินใจ มันก็สุกงอม สมดุลย์และคิดมาดีแล้ว ซึ่งมันแสดงออกถึงปัญญาและความมุ่งมั่นของหลาย ๆ หัวคิด โอกาสในการทำให้การตัดสินใจใดๆ ถูกต้องนั้นเหนือกว่าการปล่อยให้คน ๆ เดียวทำการตัดสินใจอย่างโดดเดี่ยวมาก ผมนึกถึง Alfred Sloan อดีตประธานของ General Motors ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยบอกเลื่อนการประชุมแล้วทุกคนก็ตอบรับข้อเสนอของเขาอย่างรวดเร็ว แล้วเขาก็ตั้งข้อสังเกตว่า ‘ท่านสุภาพบุรุษ ผมคิดว่าคุณไม่ได้ศึกษาข้อเสนอในรายละเอียด แล้วเราค่อยมาเจอกันอีกเมื่อผมได้ยินข้อด้อยในข้อเสนอของผม'

การบริหารจัดการ: เป็นศาสตร์หรือเป็นศิลป์

ผมมักถูกถามว่าการบริหารจัดการนั้นเป็นศาสตร์หรือเป็นศิลป์ ผมก็ไม่ทราบว่าในตำราเขียนไว้อย่างไร แต่ตามความเห็นของผม มันเป็นรากฐานขั้นพื้นฐาน การบริหารจัดการนั้นเป็นศาสตร์ ถ้ามีใครสักคนได้รับมอบหมายหน้าที่อย่างเป็นทางการให้เป็นผู้ช่วยด้านบัญชี คน ๆ นั้นก็ไม่ต้องฝึกงานศิลป์ เขาต้องปฏิบัติไปทางศาสตร์ ศาสตร์ของระบบบัญชีคู่ แต่เมื่อคุณไต่เต้าขึ้นไปคุณก็เข้าไปสู่ระดับที่ศาสตร์ค่อย ๆ กลับกลายไปเป็นศิลป์ เป็นที่ ๆ ไม่มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนหรือทฏษฐีพื้นฐานใด ๆ

ไม่มีชุดของวิธีการในการทำการตัดสินใจ ในบางครั้ง การใช้สติปัญญาที่เกิดโดยสัญชาตญาณก็นำมาก่อนการคิดวิเคราะห์ ในจุดสูงสุด สิ่งสำคัญประการแรกสิ่งหนึ่งก็คือการรับมือกับผู้คน แล้วคุณรับมือกับผู้คนอย่างไร เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นศาสตร์ แต่ละคนก็ต้องรับมือกับผู้คนในลักษณะที่แตกต่างกันไป มันเป็นศิลป์ คุณต้องพัฒนาศิลปะของตัวคุณเองในการรับมือกับแต่ละเหตุการณ์ ศิลป์แบบนี้เป็นอะไรที่มีลักษณะจำเพาะสำหรับแต่ละคน และแต่ละคนก็ต้องพัฒนาคุณสมบัติของตนเอง

ความเป็นผู้ประกอบการ

อุตสาหกรรมอินเดียบรรลุนิติภาวะแล้ว สิ่งนี้เป็นไปได้เพราะด้วยความเป็นผู้ประกอบการ ผมมีประสบการณ์การทำงานใน 8 ประเทศและก็พบว่าตราบใดที่การประกอบการยังคงดำเนินต่อไป เราชาวอินเดียก็ไม่เป็นสองรองใคร – ทั้งในด้านจำนวนและคุณภาพ นี่เป็นบางสิ่งที่อินเดียภาคภูมิใจได้จริง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม เราต้องใส่ใจในเรื่องนี้ เราต้องสร้างภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่ซึ่งการเป็นผู้ประกอบการสามารถรุ่งเรืองขึ้นได้

ความต้องการนักบริหารเพิ่มขึ้น

ข้อสังเกตสุดท้ายประการหนึ่ง: ขณะที่เราไม่ได้ขาดแคลนการเป็นผู้ประกอบการ เราต้องพัฒนากลุ่มคนเพื่อเป็นระดับบริหารต่อไป เรามีผู้มีทักษะการบริหารชั้นเยี่ยมแต่ไม่มีจำนวนพอเท่าที่จำเป็น ซึ่งนี้เป็นขอบเขตที่เราต้องให้ความสนใจและดำเนินการต่อไป เราได้เห็นเวลาที่ไร้ตัวเลขที่ผู้ประกอบการอินเดียได้พยายามสร้างอุตสาหกรรมมาแล้ว แต่กระนั้นยังเป็นเรื่องหดหู่เนื่องจากยังขาดแคลนเชาว์ปัญญาทางการบริหารจัดการ เราต้องสร้างผู้จัดการระดับมืออาชีพเพิ่มขึ้นและเรายังต้องการองค์กรผู้บริหารมากขึ้น ผู้ที่สามารถผสมผสานทักษะการเป็นนักบริหารเข้ากับการเป็นผู้ประกอบการ

ผู้ประกอบการสามารถวาดฝันได้ แต่ที่มีประโยชน์ก็คือความฝันที่หากไม่มีผู้จัดการหรือผู้บริหารที่สามารถแปลงความฝันเหล่านั้นให้กลายเป็นความจริงได้ เราต้องการทั้งสองอย่าง เราต้องการทั้งวิสัยทัศน์แห่งการเป็นผู้ประกอบการตลอดจนการบริหารจัดการที่ดีของผู้บริหาร ผมคิดถึง Shri Krishna และ Arjuna ‘ไม่ว่า Krishna อยู่ที่ไหนก็ตาม Yogeshwar ผู้เป็นนักคิด นักจินตนาการและ Arjuna มือธนู ผู้ปฏิบัติตามก็อยู่ที่นั่น และที่นั่นคุณก็มีความสุข มีชัยชนะ และความรุ่งเรือง'

ความเป็นผู้ประกอบการได้เกิดขึ้น และผู้บริหารก็ถูกสร้างขึ้น