บากบั่นเพื่อความเป็นเลิศ

Mr. Aditya Vikram Birla โฉมหน้าที่แท้จริงของความเป็นเลิศคือ การที่วิ่งฝ่าตัวเองไปอย่างเต็มฝีเท้า พยายามให้ได้ผลที่ดียิ่งกว่า ยกระดับขึ้นไปอีกขั้น วันแล้ววันเล่า ความเป็นเลิศคือเป้าหมายที่ไม่หยุดนิ่ง คุณ Aditya Birla กล่าวย้ำ

คัดกรองมาจากการสนทนากับคุณ Aditya Birla เนื่องในโอกาสที่ท่านได้รับรางวัลความเป็นเลิศทางวิชาชีพ ‘Vocational Excellence Award’ จากการประชุม Rotary International District Conference ในปี1995

วิชาชีพของผมก็คือความมานะบากบั่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ถึงความเป็นเลิศในทุกแง่มุมของการจัดการด้วยการถักทอสายใยการเป็นผู้ประกอบการ ความรู้ ประสบการณ์ ไอเดีย และงานต่าง ๆ เข้าด้วยกันในผืนผ้าที่อาจเรียกได้ว่า ‘การบริหารจัดการ’ งานของผมคือการกระตุ้น นำทักษะสามารถของมนุษย์มารวมไว้ด้วยกันและเชื่อมต่อกัน เพื่อให้พวกเขาปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องกันและเป็นไปอย่างพร้อมเพรียงกัน - เป็นทีมเดียวกัน มุ่งตรงไปยังจุดประสงค์เดียว เป้าหมายเดียวกัน

ผมถูกขอให้แชร์ข้อคิดเห็นบางอย่างที่เราติดตามอยู่ในกลุ่มของเรา ข้อคิดเห็นนี้เป็นจุดยืนที่เป็นตัวแทนที่ดี และอย่างที่ผมเกริ่นไว้ ผมจะแบ่งปันเรื่องราวบางอย่างกับคุณ

ในกลุ่มของเรา วัตถุประสงค์แรกและสำคัญที่สุดคือเพื่อทำให้ครอบครัวที่ใหญ่กว่าของเราพึงพอใจ โดยครอบครัวของเราประกอบด้วยผู้ถือหุ้นของเรา ลูกค้าของเรา และพนักงานของเรา เพื่อมุ่งไปยังวัตถุประสงค์นี้ ความเชื่อของเราก็คือ ‘มานะบากบั่นเพื่อความเป็นเลิศและความสมบูรณ์แบบในทุกแง่มุมของการบริหารจัดการ ด้วยการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง’ นี้คือความมุ่งมั่นอันเป็นหัวใจด้านการบริหารจัดการของ Birla นี้คือปรัชญาของกลุ่ม นี้คือคำขวัญของเรา

สำหรับผู้ถือหุ้นของเรา มันเป็นงานของเรา และเป็นคำมั่นสัญญาของเราที่จะสร้างความมั่งคั่งให้กับเขา และเป็นรางวัลตอบแทนที่มากพอสำหรับความไว้วางใจที่เขามอบให้แก่เรา

สำหรับลูกค้าของเรา เราเชื่อว่า ‘ลูกค้าถูกเสมอ’ คำขวัญของเราคือการมอบความพึงพอใจทั้งหมดให้กับเขา ในเชิงของคุณภาพและบริการ

สำหรับเพื่อนร่วมงานและพนักงานของเรา คำขวัญของเราคือ ‘การเติบโตของคุณเป็นเรื่องของเรา’ ซึ่งนี้เป็นนัยที่สำคัญถึงการจราจรแบบเดินรถสวนทางกัน: องค์กรต้องให้คำมั่นสัญญาต่อพนักงานให้มากที่สุด โดยพนักงานก็ให้คำมั่นต่อองค์กรเช่นกัน

ผมถูกขอให้พูดคุยเกี่ยวกับวิชาชีพของผม – ‘การบริหารกลุ่มที่มีหลากหลายธุรกิจ’ คุณอาจประหลาดใจที่ในหลาย ๆ แง่มุมแล้ว วิชาชีพของผมก็คล้าย ๆ กับศิลปิน ให้ผมเริ่มจาก:

การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมโดยฉันทามติและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ความจำเป็นเรื่องนี้เป็นที่เข้าใจได้ ในบริบทที่มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและท้าทาย มันเป็นไปไม่ได้ที่คนเพียงไม่กี่คนในระดับบริหารจะนำพาองค์กรไปยังจุดสูงสุดของความเป็นเลิศได้ มันจำเป็นต้องมีการเกี่ยวข้องกัน ความมุ่งมั่นและการมีส่วนร่วมของคน ๆ หนึ่งและทั้งหมด เพื่อรับมือกับการเผชิญภาวะการณ์ที่ท้าทายในปัจจุบันและใช้ประโยชน์จากโอกาสในอนาคต

การตัดสินใจที่มาจากปฏิสัมพันธ์ของหลาย ๆ แนวคิดเป็นการตัดสินใจที่ผ่านการกรอง ซึ่งย่อมดีกว่าการตัดสินใจที่มาจากใครคนใดคนเดียวมาก โดยเราพยายามหยิบความคิดของทุก ๆ คนในองค์กรมาพิจารณา ผลจากการมอบ – ระยะช่วง – การมอบอิสระในการแสดงปฏิกิริยาและตัดสินใจ – อาจจะเกินความจริง

ตอนนี้เรามาถึง: โปรแกรมบูรณาการความรู้ - Knowledge Integration Programme ’KIP’

เมื่อพูดถึง KIP เรามีหน่วยงานมากกว่า 50 แห่งใน 8 ประเทศ แต่ละหน่วยงานมีบริเวณที่จัดเป็นศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศ และยังแถมมีความไม่รู้ไว้ด้วย

เราส่งผ่านความเป็นเลิศในความรู้จากหน่วยงานแห่งหนึ่งอย่างรวดเร็วและทันที และด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพไปยังหน่วยงานอื่น ๆ นี่ทำให้เรามีความทันสมัยที่สุดในแง่ของการแข่งขัน อีกยังหมายความว่าเราไม่ต้องทำการประดิษฐ์ล้อขึ้นมาใหม่ในทุกหน่วยงานและแก้ปัญหาในแบบเดียวกันในหลาย ๆ ศูนย์ที่มีค่าใช้จ่ายสูง และเสียเวลาไปอย่างมาก

การค้นหาความรู้ของเราไม่จำกัดอยู่แค่ในกลุ่มเท่านั้น เราแสวงหาความรู้จากทุกซอกทุกมุมจากคู่แข่ง ซัพพลายเออร์ และลูกค้าของเรา และอื่น ๆ แม้แต่หน่วยงานที่ดำเนินงานได้แย่ที่สุดในอินเดียก็มีอะไรบางอย่างที่สอนเรา มันมาพร้อมกับความอ่อนน้อมถ่อมตนนี่แหละที่เราแสวงหาความรู้

ยิ่งเราเรียนรู้มากขึ้น ความตระหนักรู้ว่าเรามีความรู้แค่น้อยนิดก็ยิ่งเพิ่มขึ้น เหมือนกับที่กล่าวกันว่า ‘ผู้เรียนรู้คือผู้สานต่อมรดกโลก’ ผมนึกถึงเรื่องตลกเรื่องหนึ่ง – เมื่อที่ปรึกษาท่านหนึ่งถูกขอให้พิจารณาเหตุผลว่าทำไมธุรกิจเฉพาะแห่งหนึ่งถึงไปได้ไม่สวย

เขาเริ่มโดยการสัมภาษณ์พนักงาน

ที่ปรึกษาถามพนักงานผู้หนึ่งว่า ‘คุณทำอะไรครับ’
พนักงานตอบว่า ‘ไม่ทำอะไรครับ’
จากนั้นเขาจึงถามพนักงานคนถัดไปว่าเขาทำอะไรไป
คำถามคือ ‘ไม่ทำอะไรครับ’
ดังนั้นที่ปรึกษาจึงสรุปว่าเหตุผลที่ธุรกิจไปได้ไม่ดีเพราะมีคนสองคนทำสิ่งเดียวกัน และดังนั้น หนึ่งในนั้นจึงเป็นส่วนเกิน

โปรแกรมการพัฒนาทักษะ

ข้อคิดเห็นที่สามของปรัชญาของเราคือโปรแกรมการพัฒนาทักษะ ในแผนการที่เกินจริงและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในสภาวะที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปเกินกว่าความคิดและทักษะของมนุษย์ เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เราต้องฝึกหัดคนของเรา ไม่ใช่เพียงเพื่อความเก่งกาจแต่เพื่อให้ก้าวให้ทันไปกับอุปกรณ์ เทคนิค และระบบการทำงานและบำรุงรักษาที่ซับซ้อน ซึ่งทั้งหมดนี้เผยให้เห็นในลักษณะที่เกินจริง เพราะว่าอย่างที่กล่าวไว้แล้วทั้งหมด เทคโนโลยี เครื่องจักร ทั้งหมดนี้ควบคุมโดยความคิดของมนุษย์ และถ้าไม่มีทักษะเหล่านี้เราก็จะไม่สามารถรับมือกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือใช้เครื่องจักรใหม่ ๆ ที่ซับซ้อนได้

นี่เป็นการกดทับเรา มีความจำเป็นต้องอัปเกรดทักษะของผู้คนอย่างสม่ำเสมอไปตามรากฐานการแข่งขัน โดยต้องใช้ความอุทิศและความมุ่งมั่นทั้งหมด เราทำสิ่งนี้อย่างสุดความสามารถของเรา — อย่างแน่วแน่และสอดคล้องกัน – ดังนั้นเราจึงยังคงเตรียมพร้อมรับมือต่อการปรับตัวให้เข้ากับวิวัฒนาการและการปฏิรูปทางเทคโนโลยี หลักการและคำขวัญที่เป็นข้อแนะนำสำหรับทุกคนในองค์กรต้องเป็น:

ความสมบูรณ์แบบของระบบ

เรามาถึงยังความสมบูรณ์แบบของระบบ ความเชี่ยวชาญและทักษะขั้นสูงที่มีอยู่ในตัวบุคคลเป็นสิ่งจำเป็นต่อการบริหารองค์กรที่มีความซับซ้อน แต่ถ้าหากคุณจัดเตรียมแพลตฟอร์มที่ใช้สนับสนุนระบบที่ดีและจัดวางแนวทางไว้ในองค์กร คนที่มีความสามารถมาตรฐานโดยเฉลี่ยทั่วไปก็สามารถทำงานออกมาได้ดีเกินคาดได้ ใครบ้างที่ทำงานโดยไม่มีระบบเบื้องหลัง ดังนั้นเราจึงพยายามอย่างหนักเพื่อทำให้ระบบและกระบวนการทำงานของเราสมบูรณ์แบบ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเราอย่างยิ่ง

การผ่อนคลายกฎระเบียบและการกระจายอำนาจ

ด้วยขนาดของธุรกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความคิดริเริ่มของผู้บริหารเพียงสองสามคนไม่สามารถบริหารองค์กรให้สำเร็จหรือมีประสิทธิภาพได้ ด้วยขนาด จึงจำเป็นต้องมีการผ่อนคลายกฎระเบียบและกระจายอำนาจออกไป อีกยังเป็นสิ่งสำคัญต่อการเชิญชวนผู้ที่มีความสามารถ เพราะคนเก่ง ๆ มักไม่ต้องการร่วมงานในองค์กรที่เป็นเผด็จการมาก เนื่องจากคนรุ่นใหม่ยุคนี้ต้องการระยะห่าง ต้องการอิสระ และต้องการแพลตฟอร์มเพื่อให้เกิดความสร้างสรรค์และแสดงออกได้ และสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง

การพัฒนาทรัพยกรมนุษย์

ถึงเวลาและอีกครั้ง ความเป็นที่สุดขององค์ประกอบของมนุษย์ไม่สามารถเน้นย้ำได้ ความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์กรขึ้นอยู่กับบุคลากร ขึ้นอยู่กับมนุษย์ ขึ้นอยู่กับทักษะ ขึ้นอยู่กับความคิดริเริ่ม ขึ้นอยู่กับความกล้าได้กล้าเสีย ขึ้นอยู่กับความสามารถในการนำพาและประสานงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อทำงานกันเป็นทีมเดียวกัน อีกยังขึ้นอยู่กับความสามารถขององค์กรในการกระตุ้นพวกเขาให้เติบโตยิ่ง ๆ ขึ้นไป ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

จากการดำเนินการเพื่อคัดสรรบุคลากร แสดงแผนผังให้เห็นทิศทางการเติบโตในสายอาชีพของพวกเขา มอบโอกาสให้กับพวกเขาผ่านการอบรมงานด้านต่าง ๆ ทำให้พวกเขาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของคุณ – องค์กร – และทำให้องค์กรตอบสนองต่อความต้องการของพวกเขา ความหวังของพวกเขา และต่อความทะเยอทะยานของพวกเขา ทั้งหมดนี้ เป็นจังหวะของกิจกรรมที่ซับซ้อนที่ใช้ในการเชิญชวน ในการถนอมรักษา ในการสนับสนุนและเป็นรากฐานในการเตรียมความพร้อมให้กับพวกเขาให้มีความรับผิดชอบในการเป็นผู้นำ เหล่านี้เป็นงานที่รายรอบอยู่ภายใต้ HRD ที่กลุ่มของเราให้การเน้นย้ำเป็นอย่างมาก

อนาคตเป็นขององค์กรที่ซึ่งมีรากฐานการจัดการที่แข็งแกร่ง เป็นขอองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ มีความตั้งใจที่จะต่อสู้และมีความสามารถสู่ความเป็นเลิศ อนาคตเป็นขององค์กรที่ตระหนักรู้ถึงการที่ต้องเปลี่ยนแปลงสไตล์การจัดการของตนอย่างต่อเนื่อง และตระหนักถึงระบบที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของสิ่งแวดล้อมภายนอก และยังต้องตระหนักรู้ถึงความหวังและความทะเยอทะยานของบุคลากรของตน