การปิดลูป

02 ธันวาคม, 2564

จากเส้นตรงสู่วงกลม วิธีการของ Aditya Birla Group ในการแยกออกจากการเติบโตที่ต้องพึ่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติบริสุทธิ์นั้นเป็นการมองการณ์ไกลและยั่งยืน

Closing the Loop

ปัจจุบันนี้ ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอุตสาหกรรมก็คือการตอบสนองต่อความต้องการของผู้คนกว่า 8 พันล้านคนโดยไม่เพิกเฉยต่อความต้องการของโลก ทางออกนั้นอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนา “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เพื่อบรรเทาการเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมและลดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ องค์กรที่คิดไปข้างหน้าอย่างกลุ่มบริษัท Aditya Birla Group ได้ผสานรวมวัฏจักรหมุนเวียนเข้าไว้ในธุรกิจของตนมากขึ้น

เศรษฐกิจแบบเส้นตรงในแบบเดิม ๆ หรือโมเดลแบบ “ผลิต-ใช้-ทิ้ง” นั้นมีข้อจำกัดมากเกินไปและก่อมลภาวะให้กับทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในโลก ในทางกลับกัน เศรษฐกิจหมุนเวียนนั้นมีโมเดลแบบ “ผลิต-ใช้-ส่งคืน” โดยองค์กร Ellen MacArthur Foundation ที่ซึ่งทำงานร่วมกับกลุ่มบริษัทหลายกลุ่มในเรื่องโครงการต่าง ๆ สำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้ระบุถึงหลักการที่เป็นแนวทาง 3 ด้านคือ: กำจัดขยะในการผลิต, การหมุนเวียนผลิตภัณฑ์และวัสดุที่ใช้ และสร้างระบบธรรมชาติขึ้นมาใหม่

ซึ่งกลุ่มบริษัทได้นำแนวทางเหล่านี้มาปรับใช้ในวิธีปฏิบัติของธุรกิจที่มีการปฏิรูปและฟื้นฟูใหม่เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDG) ปี 2030 ซึ่งรวมถึง SDG 12 (การบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน), SDG 6 (การจัดการน้ำ), SDG 7 (พลังงานสะอาดและมีราคาเอื้อมถึงได้), SDG 13 (การดำเนินการว่าด้วยเรื่องสภาพอากาศ) และอื่น ๆ

และนี่คือโครงการเศรษฐกิจหมุนเวียนบางส่วนที่ ABG

การหมุนเวียนผ่านทางนวัตกรรม

นวัตกรรมการออกแบบนั้นคือหัวใจหลักของเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จะสามารถอัปไซเคิลได้หรือนำมาใช้ซ้ำได้เมื่อสิ้นอายุการใช้งานแล้ว ทุกวันนี้กลุ่มบริษัทหลายแห่งมีการใช้หลักการในการออกแบบหมุนเวียนในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนมากขึ้น

Circularity  through innovation

ตัวอย่างเช่น Continua™ 8000 ซึ่งเป็นวัสดุจากสารคาร์บอนที่ยั่งยืน (Sustainable Carbonaceous Material - SCM) ที่จัดทำโดย Birla Carbon มีการปล่อยคาร์บอนที่น้อยกว่าผลิตภัณฑ์คาร์บอนแบล็คหลอมแบบเดิม ๆ อย่างมีนัยสำคัญ โดยคาร์บอนแบล็คที่มักนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์จำพวกยางและพลาสติกนั้นเป็นสิ่งที่แยกออกจากวัสดุอื่น ๆ ได้ยาก แต่อย่างไรก็ตาม Continua™ 8000 นั้นทำมาจากยางรถยนต์ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว เป็นผลิตภัณฑ์ SCM ยุคใหม่ที่ออกแบบเพื่อกลับเข้าไปสู่ระบบเศรษฐกิจอีกครั้งในรูปแบบของยาง พลาสติก และส่วนประกอบยาง ซึ่งทั้งนี้จึงเป็นการปิดวงวนลูป

สิ่งทอที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

Greener textiles

อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือผ้า Liva Reviva ของ Birla Cellulose ผลิตจากขยะผ้าฝ้ายเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรม 20% และ 80% จากเยื่อไม้ที่มาจากผืนป่าที่ยั่งยืน โดย Liva Reviva เป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอแบบหมุนเวียนที่มีคุณภาพเทียบเท่าได้กับเส้นใยที่ผลิตจากเยื่อไม้บริสุทธิ์ Birla Cellulose ซึ่งเป็นผู้พัฒนา Liva Reviva จำหน่ายเส้นใยให้กับแบรนด์ระดับโลกแล้ว 20 แบรนด์ ด้วยเป็นขั้นตอนถัดไปในเส้นทางการหมุนเวียน ทีมงานฝ่ายวิจัยและพัฒนาของ Birla Cellulose จึงอยู่ระหว่างการทำงานกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากขยะประเภทผ้าที่เหลือทิ้งจากอุตสาหกรรม 50% และมีการใช้ผ้าที่ผ่านการใช้งานแล้วเป็นวัตถุดิบ

เปลี่ยนขยะให้เป็นเงิน

Waste to wealth

Aditya Birla Fashion and Retail Ltd. (ABFRL) ได้ปรับให้การลดขยะและการฝังกลบขยะเป็นศูนย์เป็นเป้าหมายหลักในการจัดการด้านการผลิตในเชิงรุก และส่งเสริมการหมุนเวียนในธุรกิจเครื่องแต่งกาย

ความคืบหน้าของทั้งสองด้านนั้นเป็นไปด้วยดี โดยผู้ประกอบการด้านแฟชั่นชั้นนำรายนี้ได้ทำการรีไซเคิลและนำขยะของตนกลับมาใช้ซ้ำถึง 90% ส่วนเป้าหมายที่สองก็ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์แล้วเช่นกัน โดยไม่มีโรงงานใดที่ส่งขยะไปกลบฝังแต่อย่างใดในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้บริษัทยังจัดให้มีการประเมินความสามารถในการติดตามขยะอย่างจริงจัง เพื่อตรวจสอบยืนยันและรับรองกลไกการกำจัดขยะจนถึงขั้นตอนสุดท้าย

นี่ไม่ใช่ทั้งหมด ความยั่งยืนที่ Aditya Birla Fashion and Retail นั้นไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรม หากแต่เป็นวิธีในการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ ด้วยเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ความยั่งยืน 2.0 บริษัทจึงจะทำให้แน่ใจได้ว่าครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์ตามปริมาณ (จากประมาณ 40% ในขณะนี้) จะมีคุณลักษณะของความยั่งยืนอย่างน้อยหนึ่งอย่างให้ได้ภายในปี 2025 นอกจากนี้ บริษัทยังจะทำให้เสื้อผ้าที่ผ่านการใช้งานแล้วกลับเข้าสู่วัฏจักรให้มากขึ้นด้วยการรีไซเคิลและอัปไซเคิล 10% ของผลิตภัณฑ์ ควบคู่กันไปกับการนี้ บริษัทยังมีการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมหมุนเวียนที่ใหม่กว่าโดยมีการร่วมมือกับโรงงานนวัตกรรมเครื่องแต่งกายหมุนเวียน

วงจรกระป๋องสู่กระป๋อง

Can-to-can cycle

ตัวอย่างที่ดีอีกตัวอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการนำขยะกลับเข้าสู่การหมุนเวียนมาจาก Novelis Inc. ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ Hindalco ที่มีความมุ่งมั่นในเรื่องความยั่งยืนอย่างยากที่จะเทียบได้ โดย Novelis นั้นเป็นผู้ซื้อและผู้ทำการรีไซเคิลรายใหญ่สำหรับกระป๋องบรรจุเครื่องดื่มที่ใช้แล้วทั่วโลก โดยมีการรีไซเคิลกระป๋องกว่า 74 พันล้านกระป๋องในแต่ละปี เทคโนโลยีแบบปิดลูปนี้ทำให้บริษัทสามารถแปลงกระป๋องอะลูมิเนียมใช้แล้วให้กลายเป็นกระป๋องใบใหม่เอี่ยมได้ภายใน 60 วันเท่านั้น

อนุรักษ์ทุนทางธรรมชาติ

กระบวนการทางอุตสาหกรรมนั้นทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ที่อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หนึ่งในนี้ก็คือเศษตกค้างบอกไซต์ (รู้จักกันในชื่อตะกอนสีแดง) ซึ่งเป็นส่วนที่เหลืออยู่หลังจากที่บอกไซต์ผ่านกระบวนการในการผลิตอะลูมิเนียม

Preserving  natural capital

เพื่อให้แน่ใจว่าเศษตกค้างตะกอนสีแดงนั้นจะไม่จบลงด้วยการก่อมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อม Hindalco จึงประสานการทำงานร่วมกับผู้ผลิตซีเมนต์ผู้ที่สามารถใช้ตะกอนสีแดงเป็นวัตถุดิบได้ มีการใช้เทคนิคการกรองที่ไม่เหมือนใครเพื่อกำจัดความชื้นออกจากตะกอนสีแดง และเพิ่มพูนศักยภาพในการนำไปใช้งานได้

ภายในระยะเวลาหนึ่งปี Hindalco ได้เพิ่มปริมาณการใช้ประโยชน์จากตะกอนสีแดงจาก 27% ในปีงบประมาณ 2019-2020 เป็น 62% ในปีงบประมาณ 2020-2021 นอกจากนี้บริษัทยังทำให้มั่นใจได้ว่า 90% ของเถ้าลอย (เศษตกค้างจากการเผาไหม้ถ่านหิน) ได้รับการนำมาใช้ในงานด้านซีเมนต์, การก่อสร้าง และอุตสาหกรรมอิฐ ที่นอกเหนือจากการใช้งานด้านอื่น ๆ

ขยะคือมูลค่า

ผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านซีเมนต์ UltraTech เป็นหนึ่งในผู้ที่นำเชื้อเพลิงทางเลือกและวิธีปฏิบัติที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมาใช้เป็นรายแรก ๆ ในหมู่ผู้ผลิตซีเมนต์ในอินเดีย โดยมีการใช้ขยะปริมาณมาก ทั้งจากอุตสาหกรรม, การทำเหมือง และขยะจากการเกษตรตลอดจนขยะมูลฝอยจากชุมชน - เพื่อลดการพึ่งพาวัตถุดิบตามธรรมชาติ ในความเป็นจริงแล้ว บริษัทมีการสำรวจ “สายธารของเสีย (Waste Stream)” อย่างจริงจังและติดตั้งเทคโนโลยีต่าง ๆ ไว้ที่โรงงานเพื่อแปรรูปให้กลายเป็นขยะชนิดใหม่

Waste as value

ในทศวรรษที่ผ่านมา บริษัทใช้ขยะเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมที่ 533,867 เมตริกตันเพื่อผลิตซีเมนต์ผสมหรือใช้เป็นเชื้อเพลิงทางเลือก และในปีงบประมาณ 2020-2021 บริษัทได้แปรรูปขยะมูลฝอยจากเทศบาล 74,187 ตัน ซึ่งรวมถึงพลาสติกให้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเตาเผาปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้ขยะทั้งหลายต้องไปอุดตันอยู่ในดินด้วยการนำไปกลบฝัง

เรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการหมุนเวียนนั้นมีอยู่มากมายที่ Aditya Birla Group ด้วยเป็นธุรกิจที่มุ่งเน้นไปที่ความยั่งยืนมากที่สุดแห่งหนึ่งในอินเดีย ความมุ่งมั่นต่อเศรษฐกิจหมุนเวียนของกลุ่มนั้นเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนเพื่อการก้าวสู่อนาคต ความยั่งยืน และการเติบโตในองค์รวม